วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติ

นางสาว วรรณวิภา ถิ่นสำราญ
รหัสนักศึกษา 554551240
คณะ วิทยาการจัดการ
โปรแกรมวิชา นิเทศศาสตร์ ( ประชาสัมพันธ์ )

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การออกกำลังกายและบริหารร่างกายสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์

4 ท่าบริหารป้องกัน "ปวด"จากการใช้คอมพิวเตอร์ (มติชน)
          ช่วงปิดเทอมนี้การจะห้ามไม่ให้เด็กเล่นเกม ใช้คอมพิวเตอร์ หรือเล่นอินเทอร์เน็ตคงเป็นเรื่องยาก ถือเป็นช่วงวันหยุดยาวที่พวกเขาจะได้พักผ่อน หลังจากการเรียนและสอบที่เคร่งเครียด เด็กหาวิธีผ่อนคลายในยุคดิจิตอลด้วยการเล่นเกม แต่เด็ก ๆ หารู้ไม่ว่าการนั่งใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ จะทำให้มีอาการปวดนิ้ว นิ้วแข็ง มือเกร็ง และอาจมีอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดคอ ปวดแขน ตามมาได้


ดร.เจย์ สัน ลี ไคโรแพรคเตอร์ ชาวเกาหลี ประจำคลีนิคกายภาพบำบัดดีสปายน์ ไคโรแพรคติก บอกว่า การห้ามเด็ก ๆ ไม่ให้เล่นเกมหรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ในยุคดิจิตอลนี้คงจะเป็นเรื่องยาก เพราะมองไปทางไหนก็มีแต่เกม และอะไร ๆ เดี๋ยวนี้ก็ต้องใช้คอมพิวเตอร์ทั้งนั้น เพราะเหตุนี้จึงทำให้เด็กจำนวนไม่น้อยมีปัญหาและอาการปวดนิ้ว นิ้วแข็ง มือเกร็ง ทำให้เขียนหนังสือไม่ได้ หรือเมื่อพอเริ่มเขียนได้สักพักก็รู้สึกเครียด อารมณ์เสีย มีอาการโมโห หรือหงุดหงิด นอกจากเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการเล่นเกมและใช้คอมพิวเตอร์แล้ว ผู้ใหญ่จำนวนมากก็ต้องประสบกับอาการปวดและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น ปวดหลัง ปวดเอว ปวดคอ อันเนื่องมาจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะคนที่ทำงานด้านบัญชี คีย์ข้อมูล หรือต้องพิมพ์รายงานต่าง ๆ เป็นต้น

ดร.เจย์ สัน ลี กล่าวต่อว่า การนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ส่วนมากจะนั่งผิดลักษณะท่าทาง ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอ นอกจากนั้นยังมีการใช้เก้าอี้ไม่ตรงกับสรีระ จึงทำให้เกิดอาการปวดหลังตามมา ควรจะมีการพักสายตา ยืดกล้ามเนื้อ หรือบริหารร่างกาย เพื่อเป็นการป้องกันอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไคโรแพรคเตอร์ จึงแนะนำท่าบริหารร่างกาย เพื่อป้องกันอาการปวด จากผลกระทบของการเล่นเกมและใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ 4 ท่า ดังนี้
           1. ท่าบริหารและผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลัง ท่านี้ควรให้เด็ก ๆ ยืนหรือนั่งให้หลังตรง แล้วเหยียดแขนทั้งสองข้างขึ้นด้านบน ประสานมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน แล้วหงายมือออก

           2. ท่าบริหารกล้ามเนื้อแขน ให้เหยียดแขนทั้งสองข้างออกไปข้างหน้าโดยให้มือประสานกัน


           3. ท่าบริหารกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณนิ้วมือ โดยยืดแขนออกไปข้างหน้า โดยให้มือชี้ลง พร้อมทั้งดัดนิ้วมือไปทางด้านหลัง โดยให้ทำสลับกันทั้งซ้ายและขวา อย่างน้อย 20 วินาที

           4. ท่าบริหารกล้ามเนื้อบริเวณคอ โดยการยืนตัวตรง เอามือซ้ายจับบนศีรษะด้านขวา พร้อมโน้มคอไปทางด้านเดียวกับที่มือจับศีรษะอยู่ ทำสลับไปมา ซ้ายขวา




http://health.kapook.com
http://topicstock.pantip.com

อาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์




         อาหารดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพฉันใด อาหารบำรุงสายตาก็มีความจำเป็นต่อสุขภาพสายตาที่ดีฉันนั้น การมองเห็นเป็นสิ่งที่วิเศษสุดของคนเรา สุขภาพสายตาควรได้รับการดูแลอย่างดี
ด้วยการใช้ดวงตาอย่างทะนุถนอมและรู้จักดูแลบำรุงรักษาสายตาด้วยการเลือกกินอาหารที่มีสารอาหารและวิตามินบำรุงสายตา

         อาหารบำรุงสายตา จะมีวิตามินเอ สารอาหารที่ชื่อว่า ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารอาหารสำคัญในอาหารบำรุงสายตา วิตามินเอจะได้จากอาหารจำพวก ตับไก่ ตับหมู ไข่แดง ฟักทอง ฯลฯ สำหรับสารอาหารลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin) นั้นเหมาะสำหรับคนที่ห่วงใยสุขภาพสายตาอย่างจริงจังและคนที่ทำงานโดยใช้สายตามากเช่น คนที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆในแต่ละวันหรือต้องทำงานอยู่กลางแจ้งที่มีแสงแดดจ้า คนที่ต้องขับรถกลางคืนบ่อยๆที่มักจะถูกแสงไฟรถที่วิ่งสวนมาสาดเข้าตาบ่อยๆในลักษณะเดียวกับแสงไฟแฟลชจากกล้องถ่ายรูปทำให้สายตาต้องทำงานหนักเมื่อเจอแสงสว่างในลักษณะนี้

         สารอาหารลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin)นั้นจะอยู่ในจุดรับภาพของดวงตาคนเรา สารอาหารทั้งสองตัวนี้จะช่วยกรองแสงหรือป้องกันรังสีที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตา นอกจากนี้ลูทีน(Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin)ยังช่วยปกป้องไม่ให้เซลล์ของจอประสาทตาถูกทำลาย ดังนั้นการบำรุงรักษาสายตาทำได้โดยรู้จักเลือกกินอาหารที่มีสารลูทีน(Lutein)และซีแซนทีน(Zeaxanthin)อยู่เพื่อประโยชน์ในการบำรุงสายตา


           อาหารที่มีลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin) ที่ช่วยบำรุงสายตาได้แก่อาหารจำพวกพืชผักผลไม้ที่มีสีเขียวเข้มและสีเหลืองเช่น ผักคะน้า ผักปวยเล้ง ผักโขมและข้าวโพด สารอาหารที่จำเป็นในการบำรุงสายตาควบคู่ไปกับลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin)ก็คือวิตามินเอที่ได้จากอาหารจำพวกฟักทอง
แครอท ผักตำลึง ตับหมู มะละกอ มะม่วงสุก
ผักบุ้ง ฯลฯ นอกจากนี้สารอาหารทั้งสองตัวนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อกระจก(Cataracts) โรคกระจกตาเสื่อม(AMD) มะเร็งเต้านมและโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย

          การดูแลรักษาสุขภาพดวงตาให้มีสุขภาพดี นอกจากจะรู้จักเลือกกินอาหารบำรุงสายตาที่มีสารลูทีน (Lutein) ซีแซนทีน (Zeaxanthin) และวิตามินเอแล้วยังมีสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพของสายตานั่นคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สายตาในการทำงานเช่น ใช้แผ่นกรองแสงกับจอคอมพิวเตอร์และปรับลดระดับแสงสว่างจากจอคอมพิวเตอร์ให้พอเหมาะอย่าให้สว่างจ้ามากเกินไป เมื่อทำงานที่ต้องใช้สายตามากๆเป็นเวลานานให้รู้จักหยุดพักสายตาบ้างสัก 3-5 นาทีแล้วค่อยกลับไปทำงานต่อ เมื่อต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานานควรสวมแว่นกันแดดเพื่อลดปริมาณแสงที่จะเข้ามายังตาของเรา


         อาหารบำรุงสายตาช่วยให้ดวงตาได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตาและการปรับพฤติกรรมการทำงานที่ต้องใช้สายตามากๆจะเป็นการป้องกันและช่วยถนอมรักษาดวงตา หากทำทั้งสองอย่างไปพร้อมกันก็เหมือนกับการบำรุงรักษาสายตาจากภายใน (กินอาหารบำรุงสายตา) และป้องกันอันตรายรบกวนกับสายตาจากภายนอก (ปรับพฤติกรรมการใช้สายตา) ซึ่งจะมีผลช่วยถนอมและรักษาดวงตาให้อยู่กับเราไปได้อีกนานเท่านาน


http://www.student.chula.ac.th/

การดูแลสุขภาพดวงตา กับการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์




วันนี้เรามีวิธีดูแลสุขภาพ กับการทำงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ทั้งวันกันค่ะ สิ่งที่จำเป็นทีสุดคือดวงตา ที่ต้องจ้องคอมทั้งวัน การดูแลสุขภาพดวงตา ถนอมดวงตา ได้ด้วยวิธีนี้ค่ะ


1. กระพริบตาให้ถี่ขึ้น อาการตาแห้ง เกิดจากการที่เรากระพริบตาน้อยลง เนื่องจากมีสมาธิขณะทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ อัตราการกระพริบตาจะลดลงจาก 20 - 22 ครั้งต่อนาที เหลือเพียง 6 - 8 ครั้งต่อนาที ถ้า หรืออาจใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น


2. จัดวางคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม ให้บริเวณหน้าต่างอยู่ทางด้านข้างของจอคอมพิวเตอร์ เพื่อลดแสงตกสะท้อนบนหน้าจอ ควรจัดให้มีระยะห่างระหว่างจอภาพกับตัวเราประมาณ 50 - 70 ซ.ม. จัดระดับจอภาพจากจุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ ให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 4 - 9 นิ้ว ไม่ควรให้จอภาพอยู่สูงหรือต่ำเกินไป


3. ปรับความสว่างของห้อง ควรปิดไฟบางดวงที่ทำการรบกวนการทำงาน เพราะปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความสว่างที่มากเกินไป ถ้ามีแสงจ้าจากหน้าต่าง ควรใช้มูลี่เพื่อปรับแสงให้ผ่านได้เพียงบางส่วน และไม่เข้าตาโดยตรง


4. เลือกใช้แว่นที่เหมาะสมกับการใช้คอมพิวเตอร์ ควรเลือกใช้เลนส์สีเขียวอ่อน ที่ช่วยให้สบายตาภายใต้แสงจากหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ และเพื่อลดแสงสะท้อนจากจอภาพ โดยเลือกแว่นตาที่มีกำลังขยายสำหรับระยะ 50 - 70 ซ.ม. (ระยะกลาง) ซึ่งค่ากำลังของเลนส์ดังกล่าวจะแตกต่างจากเลนส์อ่านหนังสือ หรือเลนส์มองใกล้ทั่วไป



5. พักสายตา ทุกๆ ชั่วโมง ควรเปลี่ยนอริยาบถ หรือลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายบ้าง เพื่อพักสายตาและป้องกันอาการปวดเมื่อยจากการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็น เวลานาน


http://www.watsons.co.th
www.facebook.com

ภัยเทคโนโลยีต่อสุขภาพ



ผลกระทบต่อร่างกายโดยตรง 

          ดวงตา  ดวงตา กล้ามเนื้อและระบบประสาท ทำให้เกิดอาการเมื่อยตา สายตาเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ  คลื่นไส้ เป็นต้น โดยอาการที่พบบ่อยที่สุดของ  โรคนี้คือ ปวดตา  เมื่อยตา ตาแห้ง ถ้าอาการเป็นมากยังอาจก่อให้เกิดปัญหาสายตาเสื่อมลงด้วย  เนื่องจากขณะใช้คอมพิวเตอร์ดวงตาต้องจ้องมองหน้าจอที่มีตัวหนังสือหรือภาพกระพริบตลอดเวลา ทำให้กลไกตามธรรมชาติของการกระพริบตาลดน้อยลงจนเราไม่สังเกต เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ตาแห้ง และหากดวงตาอยู่ในสภาพที่เหน็ดเหนื่อยหรือตาแห้ง ก็จะทำให้สายตาเสื่อมลง  ทาง American Optometric Association (AOA) มีการให้คำจำกัดความของโรคหรือภัยที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะผลที่เกิดกับดวงตาและการมองเห็นว่า คือโรค Computer Vision Syndrome หรือ CVS โดยมีอาการคือ ปวดเบ้าตา, ปวดต้นคอ, มีอาการอ่อนล้าทางประสาทตา, มีภาวะตาแห้ง, รอยตาคล้ำบริเวณตา หรือมีรอยบวมเห็นเป็นถุงใต้ตาโปนออกมา สาเหตุหลักนอกจากการใช้สายตาเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ แล้ว  ยังสามารถเกิดได้จากการได้รับรังสีอัลตร้าไวโอเลตทั้งจากรังสี UV ที่ออกมาจากจอคอมพิวเตอร์  หรือจากแสงแดดก็ได้



        ระบบประสาท จากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของคอมพิวเตอร์ แม้ว่ารังสีชนิดต่างๆจากหน้าจอคอมพิวเตอร์จะมีความปลอดภัยก็ตาม แต่การรับการแผ่รังสีเป็นเวลานานก็อาจจะส่งผลกระทบถึงระบบประสาทของมนุษย์ได้เช่นกัน จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้  อึดอัด และนอนไม่หลับ เป็นต้น

          เสี่ยงต่อการเป็นหมัน  ในวารสาร “Human Reproduction” มีรายงานที่เขียนโดย ดร.เยซิม เซย์คิน หัวหน้าทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยประจำนครนิวยอร์ก รายงานไว้ว่า คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปหรือโน๊ตบุ๊ค ที่หลายคนชอบวางทำงานไว้บนหน้าตักนั้น จะทำให้อุณหภูมิที่ลูกอัณฑะสูงขึ้นซึ่งมีผลต่อการสร้างสเปิร์มของผู้ชายทุกคนและทุกวัย  ปกติแล้วลูกอัณฑะที่ใช้ผลิตเสปิร์มของผู้ชายนั้นเป็นอวัยวะที่ไวต่ออุณภูมิเป็นอย่างมาก โดยอุณภูมิที่เพิ่มขึ้นเพียง 1 องศาเซลเซียสก็จะลดจำนวนเสปิร์มที่แข็งแรงลงไปถึงร้อยละ 40   การวางโน๊ตบุ๊คบนตักหนึ่งชั่วโมงทำให้อุณภูมิลูกอัณฑะเพิ่มขึ้นประมาณ 2.6 ถึง 2.8 องศาเซลเซียส


        โรคที่เกิดจากท่านั่งหรือการทำงานซ้ำซาก 
           โรค Cumulative Trauma Disorders (ความผิดปกติจากอุบัติภัยสะสม) อาการของโรคจะค่อยเป็นค่อยไป จะมีอาการปวดคอ ไหล่ ข้อมือ และหลัง ผู้ที่เป็นมาก ๆ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการชาที่มือ อาการของโรคพวกนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
                    o ระยะแรกเป็นแล้วหายเมื่อได้พัก
                    o ระยะสองคือ มีอาการต่อเนื่องถึงกลางคืน และหายเมื่อได้พัก
                    o ระยะสามคือ เป็นตลอดเวลาไม่หายเมื่อได้พัก
การรักษาคือ ต้องปรับพฤติกรรมการทำงานของตนเองหรือถ้าเป็นมากควรปรึกษาแพทย์ และควรเล่าประวัติการทำงานเพื่อให้แพทย์ทราบสาเหตุที่แท้จริง  แพทย์จึงจะรักษาเฉพาะที่ได้
สาเหตุ  เกิดจากการกดแป้นพิมพ์ และการใช้เมาส์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน การจับเมาส์โดยมีข้อมือเป็นจุดหมุน อาจเกิดพังผืดบริเวณข้อมือ หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการชา จนไม่สามารถหยิบของได้



          อาการ Repetitive Strain Injury หรือ RSI ซึ่งสามารถเป็นได้กับทุกส่วนของร่างกายจากการนั่งทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบไม่ถูกสุขลักษณะตั้งแต่แขน  ข้อมือ  ข้อนิ้ว  แผ่นหลัง  ต้นคอ  หัวไหล่ และสายตา  เนื่องจากอวัยวะส่วนที่มีปัญหาถูกวางค้าง ถูกทิ้งน้ำหนัก หรือกดทับนานๆ จนอักเสบ  หากปล่อยไว้นานๆ อาจต้องผ่าตัดเอ็น

          กลุ่มอาการปวดข้อ(Carpal Tunnel Syndrome: CTS)  เป็นกลุ่มอาการของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดอาการของโรคกระดูกข้อมือเจ็บปวด ข้อกระดูกนิ้วมือเสื่อม และชา 

             การรักษา  หากเริ่มมีอาการอาจต้องรับประทานยาแก้ปวดและหยุดการเคลื่อนไหวโดยการพักข้อมือ อาการก็อาจทุเลาลงได้ อาการปวดจะหายไปในที่สุด หากปวดบวม ให้รับประทานยาระงับปวดและอาจต้องสวมอุปกรณ์ประคองมือ เพื่อลดการเคลื่อนไหวของข้อมือ หรือฉีดยากลุ่มสเตียรอยด์เข้าบริเวณข้อมือ เพื่อลดการอักเสบโดยตรง ส่วนในรายที่เป็นมานานอาจจำเป็นต้องผ่าตัดจึงจะได้ผลดี


         โรคที่เกิดจากเชื้อโรคที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์  
          โรคภูมิแพ้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสตอก โฮล์ม ในสวีเดนพบว่า สารเคมีจากจอคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ สารนี้มีชื่อว่า Triphenyl Phosphate ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในจอวิดีโอและคอมพิวเตอร์  สามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เช่น คัน คัดจมูก และปวดศีรษะ ผลวิจัยพบว่า เมื่อจอคอมพิวเตอร์ร้อนขึ้นจะปล่อยสารเคมีดังกล่าวออกมา โดยเฉพาะหากสภาพภายในห้องทำงานที่มีเนื้อที่จำกัด เครื่องคอมพิวเตอร์อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ ดังนั้น อากาศที่ดีจึงจำเป็นอย่างยิ่ง

          Qwerty Tummy (โรคที่ตั้งชื่อตามตัวอักษรชุดแรกบนแป้นคีย์บอร์ด) ซึ่งอาจระบาดในที่ทำงานได้ หากว่าแป้นคีย์บอร์ดมีแบคทีเรีย สาเหตุเกิดจากอาหารเป็นพิษ โดยผู้ใช้รับ-ประทานอาหารไปพร้อมกับใช้งานย์บอร์ด   ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดคีย์บอร์ดเป็นประจำไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย ด้วยผ้าเนื้อนุ่มชุบน้ำหมาดๆ อย่างน้อยเดือนละครั้งเสมอ 

         โรคที่เกิดจากการใช้งาน 
           โรคทนรอไม่ได้ (Hurry Sickness) มักจะเกิดกับผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้กลายเป็นคนขี้เบื่อ หงุดหงิดง่าย ใจร้อน เครียดง่าย เช่น ทนรอเครื่องดาวน์โหลดนาน ๆ ไม่ได้ กระวนกระวาย หากมีอาการมาก ๆ ก็จะเข้าข่ายโรคประสาทได้  จึงควรปรับเปลี่ยนลักษณะงานและพยายามควบคุมอารมณ์ตนเอง

            เมื่อทราบดังนี้แล้วสำหรับผู้ที่ต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ไม่ว่าจะด้วยความจำเป็นแค่ไหนก็แล้วแต่  คงต้องสอดแทรกการบริหารร่างกายเข้าไปด้วย  บิดซ้ายนิด ขวาหน่อย  ยืดเส้นยืดสาย จะได้ยืดอายุสุขภาพดีของเราต่อไป

ใช้คอมพิวเตอร์อย่างไรจึงจะปลอดภัย


ผู้มีอาชีพที่จะต้องนั่งอยู่กับคอมพิวเตอร์ทั้งวัน มักจะเกิดปัญหากับสุขภาพหลายอย่าง ทั้งสายตา ปวดคอ ปวดหลัง

          ปัญหาทางสายตาเป็นเรื่องใหญ่  ใครที่นั่งจ้องจอคอมฯ นานกว่า 3 ช.ม. ติดต่อกัน จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า สายตาจะพร่า อาจปวดกระบอกตา แสบตา ตาแดง น้ำตาไหล  

วิธีแก้ปัญหา

          1. ควรตั้งจอคอมพิวเตอร์ให้ห่างอย่างน้อย 2 ฟุต ในระดับสายตาตรงหน้าพอดี  

          2. เลือกจอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำ รู้ได้โดยเวลาดับเครื่องไฟฟ้าสถิตจะมีน้อย ถ้ามีมากเอามือไปอังใกล้ ๆ หน้าจอ ขนจะลุก

          3. ปรับแสงให้พอรู้สึกสบายตา อาจใช้แผ่นกรองแสงสวมหน้าจอจะช่วยได้ ไฟแสงสว่างด้านหลังอาจทำให้เกิดภาพสะท้อนที่จอทำให้สายตาเสียได้  

          4. ทำความสะอาดจอภาพของคอมพิวเตอร์เสมอ

          5. ควรพักสายตาบ้าง ไม่ควรทำคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกิน 1-2 ช.ม. ควรพักสายตาสัก 15 นาที หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหมาด ๆ ปิดตาไว้ 2-3 นาที จะช่วยได้มาก

          6. พวกใช้คอนแทคเลนส์ ควรหยอดน้ำตาเทียมบ่อย ๆ




ปัญหาปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ แก้ไขโดย

           1. ตั้งจอตรงหน้าพอดีไม่สูง ไม่ต่ำ ไม่เอียงซ้าย หรือขวา

           2. คีย์บอร์ดและเม้าส์ควรอยู่ระดับเอวหรือระดับหน้าตักพอดี เพราะถ้าอยู่สูงกว่านี้เวลาใช้คีย์บอร์ดและเม้าส์นาน ๆ ไหล่จะค่อย ๆ ยกสูงขึ้นโดยอัตโนมัติ เพื่อให้แขนและมือจะได้ทำงานถนัด แต่การยกไหล่ขึ้นนาน ๆ กล้ามเนื้อที่ยกไหล่จะล้า ปวดเมื่อยได้ ปวดตั้งแต่ไหล่ บ่า ถึงคอ

           3. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม.


ปัญหาปวดหลัง แก้ไขโดย

           1. ขณะนั่งทำคอมพิวเตอร์ควรนั่งเก้าอี้ที่สูงพอดี เท้าวางบนพื้นได้เต็มเท้า ถ้าสูงเกินไปจนเท้าลอย หรือถ้าต่ำเกินไป ก้นจะจ่อมอยู่บนที่นั่ง ทำให้เมื่อยบริเวณก้นได้  

           2. เวลานั่งต้องเลื่อนตัวให้นั่งชิดพนักพิง ไม่ใช่นั่งอยู่แค่ครึ่งที่นั่งของเก้าอี้  

           3. หลังจะต้องพิงพนักเก้าอี้อยู่ตลอดเวลา โดยพนักพิงทำมุมกับที่นั่ง ไม่เกิน 100 องศา

           4. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม. 


http://health.kapook.com
plus.google.com
http://www.phyathai.com

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตและSocial Network



ในปัจจุบันการใช้ Social Network นับเป็นการสื่อสารหรือสังคมออนไลน์ที่เริ่มมีความนิยมมากขึ้น ดังนั้นการใช้สื่อหรือเครื่องมือในการสื่อสารประเภทนี้  จึงต้องให้ความสำคัญและควรตระหนักอยู่เสมอถึงความระมัดระวังในการใช้ Social Network  ว่าเราควรใช้กันอย่างไรถึงจะปลอดภัย 

ไม่ควรระบุข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป 
      ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญเหล่านี้ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการระบุตัวตนที่สำคัญอันหนึ่งทีเดียว ควรพึงระวังอย่างยิ่ง หากเราเปิดเผยข้อมูลมากเท่าไหร่ ภัยร้ายก็จะเข้าใกล้ตัวเรามากขึ้นเท่านั้น อีกเรื่องที่สำคัญคือการระบุ วันเดือน ปี เกิด ทำให้เด็ก ๆ วัยรุ่นที่มีอายุน้อย ๆ ก็จะสามารถถูกล่อลวงได้ง่ายและเป็นจุดที่มิจฉาชีพสนใจ  

ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นส่วนตัว หรือที่ทำงาน 
       เรื่องเงินทองถือเป็นเรื่องใหญ่ และสำคัญ ไม่ว่าใครก็ต้องการโดยเฉพาะผู้ที่ไม่หวังดี ดังนั้นข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินเงินทอง ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมการเงินของตัวเอง หรือที่ทำงานก็ตาม จึงไม่ควรเปิดเผยสู่สาธารณะ เพราะอาจจะนำภัยร้ายมาสู่ตัวเองได้
ไม่ควรไว้ใจหรือเชื่อใจคนที่รุ้จักผ่านอินเทอเน็ต 
    เนื่องจากมีตัวอย่างการที่โดนล่อลวงผ่านการรุ้จักผ่าน Social Network หรือถูกหลอกเรื่องการซื้อขายผ่าน internet ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อของคุณ อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่บ้าน หรือชื่อสถานศึกษาให้กับคนที่ไม่รู้จักหรือการไว้ใจ เชื่อใจคนแปลกหน้าที่รู้จักกันผ่านอินแทอร์เน็ตอาจเป็นอันตรายได้ เพราะอาจถูกหลอก หรือล่อลวงไปทำอันตรายได้ ดังนั้นไม่ควรไว้ใจบุคคลที่รู้จักทาง Social Network 
ไม่ควร post ข้อความที่ชี้ชวนให้มิจฉาชีพเข้าถึงเรา 
       เช่น บอกสถานะว่าไม่อยู่บ้านวันไหน เมื่อไหร่ เมื่อไรก็ตามที่จะเดินทางไปพักผ่อนไม่ว่าไกลแค่ไหน ก็ไม่ควรบอกข้อมูลล่วงหน้า ซึ่งอาจทำให้ผู้ไม่หวังดีอาจวางแผนมาทำร้ายบุคคล หรืออาจวางแผนมาขโมยทรัพย์สินเราได้  และถือเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจให้มิจฉาชีพที่ไม่หวังดีกับเราติดตามพฤติกรรมของเราได้ 

ไม่ควร post หรือเผยแพร่ข้อความ รูปภาพ วีดีโอที่ทำให้ผุ้อื่นเสียหาย 
       เช่น ภาพหลุด คลิปหลุด หรือโพสรูปภาพที่สื่อถึงสิ่งอบายมุขต่างๆ ไม่ควรใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด เสียดสี ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม รวมทั้งไม่ควรโพสต์รูปภาพ ภาพถ่าย วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร ลงใน Social Network 


สปายแวร์คอมพิวเตอร์ (Spyware)

Spyware คืออะไร
สปายแวร์ ก็คือ โปรแกรมเล็ก ๆ ที่ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง (สปาย) การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ อาจจะเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ สปายแวร์บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย ไม่ว่าจะไปเวบไหน ก็จะโชว์หน้าต่างโฆษณา หรืออาจจะเป็นเวบประเภทลามกอนาจาร พร้อมกับป๊อปอัพหน้าต่างเป็นสิบ ๆ หน้าต่าง
สปายแวร์พวกนี้มาติดเครื่องคุณอย่างไร?
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ ไม่เคยดูแลเครื่องของตัวเองเลย ไม่เคยป้องกัน ไม่เคยบำรุงรักษา ก็มักเกิดปัญหา เอาง่าย ๆ เหมือนการขับรถก็ต้องคอยดูแลรักษา ทำความสะอาด เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ฯลฯ แต่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะไม่รู้จักการบำรุงรักษาตรงนี้ ก็เลยต้องมานั่งกลุ้มใจ พวกสปายแวร์จะติดได้หลายทางแต่หลัก ๆ คือ
    1. เข้าเยี่ยมเวบไซท์ต่าง ๆ พอเวบไซท์บอกให้ดาวน์โหลดโปรแกรมก็ดาวน์โหลดตามที่เขาบอกโดยไม่อ่านว่าเป็นอะไร
    2. ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีที่เรียกว่า Freeware มาใช้ โปรแกรมฟรีนั้นมีใช้ก็ดี แต่ก็ควรดูให้ดีเพราะโปรแกรมฟรีหลายตัวจะมีสปายแวร์ติดมาด้วยเป็นของแถม ตัวอย่างเช่น โปรแกรม Kazaa Media Desktop ซึ่งเป็นโปรแกรมให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนไฟล์กันเหมือนกับโปรแกรม Napster ขณะนี้มีผู้ใช้โปรแกรม Kazaa เป็นล้าน ๆ คน เพราะสามารถใช้ดาวน์โหลดเพลง MP3 ฟรีได้ ซึ่ง Kazaa นั้น จะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบใช้ฟรี กับแบบเสียเงิน ถ้าเป็นแบบฟรี เขาจะแถมสปายแวร์มาด้วยกว่า 10 ตัว ..คิดดูแล้วกันว่าคุ้มไม๊
    3. เปิดโปรแกรมที่ส่งมากับอีเมล์ บางทีเพื่อนส่งอีเมล์มาให้พร้อมโปรแกรมสวยงาม ซึ่งเพื่อนเองก็ไม่รู้ว่ามีสปายแวร์อยู่ด้วย ก็ส่งต่อ ๆ กันไปสนุกสนาน เวลาใช้อินเตอร์เน็ทก็เลยมีหน้าต่างโฆษณาโผล่มา 80 หน้าต่างสมใจ
ทันทีที่ Spyware เข้ามาอยู่ในเครื่องเรา มันก็จะสำแดงลักษณะพิเศษของโปรแกรมออกมา คือ นำเสนอหน้าเว็บโฆษณาเชิญชวนให้คลิกทุกครั้งที่เราออนไลน์อินเทอร์เน็ต โดยมาในรูปต่างๆ กัน ดังนี้
    1. มี Pop up ขึ้นมาบ่อยครั้งที่เข้าเว็บ
    2. ทูลบาร์มีแถบปุ่มเครื่องมือเพิ่มขึ้น
    3. หน้า Desktop มีไอคอนประหลาดๆ เพิ่มขึ้น
    4. เมื่อเปิด Internet Explorer หน้าเว็บแรกที่พบแสดงเว็บอะไรก็ไม่รู้ ไม่เคยเห็นมาก่อน
    5. เว็บใดที่เราไม่สามารถเข้าได้ หน้าเว็บโฆษณาของ Spyware จะมาแทนที่
วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ถูกโจมตีจากสปายแวร์
    1. ติดตั้งโปรแกรม Anti-Spyware ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ Anti-Spyware สามารถตรวจสอบค้นหาสิ่งแปลกปลอม (Spyware) ที่จะเข้าฝั่งตัวอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งโปรแกรม Anti-Spyware จะทำหน้าที่ตรวจสอบเป็นลักษณะเรียลไทม์เมื่อ Anti-Spyware ตรวจพบสปายแวร์ก็จะทำการเตือนให้ผู้ใช้ทราบและทำการลบสปายแวร์ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทันที
    2. ไม่ดาว์นโหลดไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ควรจะดาว์นโหลดจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือเท่านั้น
    3. เมื่อเข้าไปในเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งและพบหน้าจอตามตัวอย่างรูปต่อไปนี้ให้พิจารณาอ่านข้อความเพื่อตรวจสอบว่าระบุเงื่อนไขการใช้งานอย่างไรก่อนที่จะดำเนินการใดๆ ต่อไปหรือหากไม่แน่ใจว่าคืออะไรให้ทำการปิดหน้าจอเหล่านั้นโดยทันที (คลิกที่เครื่องหมาย x กากบาท)

ม้าโทรจันคอมพิวเตอร์ (Trojan)

   ม้าโทรจัน Trojan Horses (อันตราย การป้องกัน การกำจัด)         
         กลยุทธม้าโทรจัน เรื่องนี้คนที่เป็นแฮกเกอร์จะรู้ดี เพราะเป็นกลยุทธที่ใช้ได้แม้กระทั่งในอินเทอร์เน็ต
         ม้าโทรจันเป็นนิยายกรีก คือมีสงครามระหว่างเมืองสองเมือง เมืองโทรจันกับเมืองทรอย สู้รบกันยืดเยื้อยาวนาน สุดท้ายเมืองโทรจันจึงวางแผน สร้างม้าไม้ขึ้นมาตัวหนึ่ง ให้ทหารเข้าไปอยู่ในม้า แล้วเอาม้าไปวางหน้าประตูเมืองทรอย ทหารเมืองทรอยก็สงสัยว่าม้าอะไร จึงลากม้าเข้าเมือง แล้วทหารที่อยู่ในม้าก็แอบออกมาเปิดประตูเมือง ทำให้ทหารเมืองโทรจันบุกเข้าไปยึดเมืองทรอยได้

         Trojan = เกี่ยวกับเมืองทรอย (Troy) หรือชาวเมืองทรอย สงครามระหว่างกรีซกับทรอยอ้างอิงจาก Dict. Eng-Thai ส.เศรษฐบุตร

         ถ้ากล่าวถึงม้าโทรจัน ในทางคอมพิวเตอร์ จะหมายถึงโปรแกรมที่ถูกโหลดเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อ ปฎิบัติการ "ล้วงความลับ" "ยึดเป็นฐานที่มั่นเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น" สำหรับในคอมพิวเตอร์ ความลับนั้นคืออะไรบ้าง รหัสผ่าน User Name , และข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับการ Login ระบบ ที่ถูกพิมพ์ผ่านคีย์บอร์ดโดยผู้ใช้งาน

        โดยส่วนใหญ่แฮคเกอร์จะส่งโปรแกรม "ม้าโทรจัน" เข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ ระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ "ปฎิเสธการให้บริการ" (Denied of Services)
        โปรแกรมม้าโทรจัน ถือเป็นโปรแกรมที่สอดคล้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ไม่มีคำสั่งหรือการปฏิบัติการที่เป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ พูดง่ายๆมันไม่ใช่ "ไวรัส ซึ่งถูกถือเป็นเชื้อโรค" แต่ม้าโทรจันเป็นโปรแกรมธรรมดา ที่โปรแกรมตรวจสอบไวรัสไม่สามารถตรวจจับพฤติกรรมร้ายๆได้ แต่วัตถุประสงค์ของโปรแกรมม้าโทรจันนั้นกลับเป็นการทำงานเพื่อละเมิดความปลอดภัย และก่อให้เกิดการโจมตีระบบและความเสียหายอื่นๆ ตามมา ดังนั้นม้าโทรจันจึงไม่เป็นที่ปรารถนาของใครๆ

ม้าโทรจันในคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร
         อย่างที่กล่าวแล้วว่า ม้าโทรจันแตกต่างจากไวรัสที่การทำงาน ไวรัสทำงานโดย ทำลายคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อย่างแท้จริง ไวรัสบางตัวอย่าง Love BUG ทำลายไฟล์โดยการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในไฟล์ ไวรัส CIH ทำให้ไบออสของคอมพิวเตอร์เสีย และเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ไม่ได้ แต่ "ม้าโทรจัน" ไม่ทำอะไรกับคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันไม่มีคำสั่งหรือพฤติกรรมการทำลายคอมพิวเตอร์เหมือนไวรัส ม้าโทรจันเหมือนโปรแกรมทั่วไปในคอมพิวเตอร์

         สมัยก่อนเวลาพูดถึงม้าโทรจัน จะว่ากันว่าขนาดของไฟล์ แตกต่างจากไวรัสที่ขนาดของม้าโทรจันนั้นเป็นโปรแกรมขนาดเล็ก และเป็นโปรแกรมที่ไม่ถือว่ามีพฤติกรรมเป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ ซึ่งในทางการกำจัดไวรัส จะมีการตรวจสอบโดยการดูลักษณะการทำงาน ไวรัสนั้นมีคำสั่งอันตราย แต่โทรจันไม่มี ดังนั้นโปรแกรมตรวจสอบไวรัสไม่มีทางที่จะตรวจสอบหา "ม้าโทรจัน" พบ
         ม้าโทรจันนั้นเป็นเครื่องมือของแฮคเกอร์ในการเจาะระบบ ว่ากันว่าบรรดาแฮคเกอร์นั้นมีสังคมเฉพาะที่แจกจ่าย เผยแพร่ม้าโทรจันออกไปใช้งาน โดยส่วนใหญ่ม้าโทรจันซึ่งปัจจุบันมีอยู่นับพันโปรแกรม ถูกพัฒนาโดยพวกนักศึกษา แฮคเกอร์ และมือสมัครเล่นอีกหลายคน เพราะม้าโทรจันนั้นคือโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อบันทึกว่าแป้นคีย์บอร์ดแป้นไหนถูกกดบ้าง ด้วยวิธีการนี้ก็จะได้ข้อมูลของ User ID, Password หลังจากนั้นโปรแกรมม้าโทรจันจะบันทึกข้อมูลลงไปใน RAM , CMOS หรือ Hidden Directory ในฮาร์ดดิสก์ แล้วก็หาโอกาสที่จะอัพโหลดตัวเองไปยังแห่งที่ผู้เขียนม้าโทรจันกำหนด หรือบางทีแฮคเกอร์อาจจะใช้วิธีการเก็บไฟล์ดังกล่าวไปด้วยวิธีอื่น การใช้อินเตอร์เน็ต ใช้โมเด็ม หรือใช้ LAN

        อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน เนื่องจากเป็นยุคของอินเตอร์เน็ต ขนาดของโปรแกรมม้าโทรจันนั้นใหญ่ขึ้น และทำอะไรได้เบี่ยงเบนความสนใจมากขึ้น เช่น แสดงรูปภาพสกรีนเซฟเวอร์น่ารักๆ แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงของม้าโทรจันคือ "สืบเสาะหาความลับ" ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง แถมตัวใหม่ที่รันบนวินโดวส์ 95/98 นั้น สืบหาความลับมากกว่าเดิมด้วย เอาข้อมูลส่วนบุคคลส่งไปได้เลย ม้าโทรจันบางตัวเข้ามาเพื่อ "เปิดประตู" จริงๆ คือ เปิดช่องว่างด้านระบบรักษาความปลอดภัยรอพวก "หัวขโมย" เข้ามาปฎิบัติการอีกที และอย่างที่เราทราบกันแฮคเกอร์บางคนวางแผนยึดเครื่องพีซีเพื่อดำเนินการโจมตีเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการทางอินเตอร์ให้หยุดให้บริการ


ประเภทต่างๆของม้าโทรจัน
         ม้าโทรจันนั้นไม่มีเพียงประเภทเดียว แต่มีการแบ่งออกเป็นหลายประเภท ตามลักษณะการคุกคามและการทำงาน
Client / server ม้าโทรจันแบบนี้จะส่งจากเซิร์ฟเวอร์ไปไว้ที่ไคลเอ็นต์ โดยสั่งเปิด
พอร์ตที่ไคลเอ็นท์แล้วให้เครื่องไคลเอ็นต์อีกเครื่องไปควบคุม

DDOS Distributed Denial of Service แฮคเกอร์จส่งโทรจันไปไว้ที่เครื่องไคลเอ็นต์หลายๆเครื่อง หลังจากนั้นจะใช้เครื่องไคลเอนต์เหล่านั้นโจมตีเว็บไซต์เป้าหมายพร้อมๆกันเพื่อให้หยุดบริการอย่างที่ได้ยินกันในเดือนมิถุนายน 2543 ที่ผ่านมา

Destructive โทรจันประเภทนี้ทำงานเหมือนไวรัสคือ พยายามทำลายไฟล์ระบบของเครื่อง จนกระทั่งบูตไม่ได้

FTP โทรจันแบบนี้ทำให้ไดรฟ์ C สามารถใช้คำสั่ง FTP ได้ ข้อมูลในไดรฟ์ C จะถูกดูดออกไปด้วย

IRC Internet Relay Chat ทำให้เปิด Connection กับ Chat Server หลายๆตัว

- Keylogger ทำหน้าที่บันทึกแป้นคีย์บอร์ดที่ถูกคีย์ลงไปขณะที่เราใช้คอมพิวเตอร์ การบันทึกนั้นรวมถึงรหัสผ่าน User Name และทุกๆคีย์ที่ถูกกดผ่านคีย์บอร์ด

Password Stealer ตัวขโมยรหัสผ่าน โดยขโมยรหัสผ่านของ ICQ , e-mail , ระบบคอมพิวเตอร์ ,การต่อเชื่อม ISP แล้วเก็บรหัสผ่านนั้นไว้ในไฟล์หนึ่ง แล้วเอาม้าโทรจันอีกตัวมาอัพโหลดไฟล์นั้นไปยังปลายทาง

Remote Flooder ทำงานเหมือนกับ DDOS คือส่งโทรจันไปที่เครื่องปลายทาง (รีโมท) แล้วสั่งจากเครื่องมาสเตอร์ให้เครื่องปลายทาง (รีโมท) โจมตีเป้าหมายอีกทีหนึ่ง

Telnet ม้าโทรจันตัวนี้จะยึดเครื่องรีโมทเป็นอาวุธโจมตีเครื่องปลายทาง โดยผ่าน Telnet ใช้คำร้องขอบริการ Telnet เพื่อจัดการกับเครื่องเหยื่อเป้าหมาย เหมือน DDOS อีกตัว

VBSscript ตัวนี้เป็นโทรจันที่อันตราย เพราะมันอาจจะซ่อนตัวในเว็บไซต์ รอโจมตีเครื่องเป้าหมาย แล้วหลังจากนั้นก็เผยแพร่ผ่าน e-mail Outlook Express เพื่อโจมตีหรือกระจายไวรัสต่อไป นอกจากนี้ VBScript ยังมีอันตรายอย่างมากด้วย เพราะสามารถใช้คำสั่งในการรันคำสั่งอื่นเพื่อทำลายระบบ หรือเปลี่ยนไฟล์ได้


ป้องกัน-กำจัดม้าโทรจันสำหรับสำนักงาน
        นับวันม้าโทรจันจะยิ่งมีโอกาสในการแพร่ระบาดสูงขึ้น เพราะพัฒนาการของของเทคโนโลยีพีซี จากยุคเก่าที่มีเพียงเครื่องมินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม 1 เครื่อง และ Dumb Terminal ที่ Dumb Terminalนั้นไม่มีดิสก์เก็ต ดังนั้นโอกาสที่ม้าโทรจันจะถูกโหลดผ่านดิสก์เก็ตย่อมไม่มี แต่หลังจากนั้น Dumb Terminal ถูกแทนที่โดย Thin Client ซึ่งอาจจะมีดิสก์เก็ตและมีฮาร์ดดิสก์ ทำให้ง่ายต่อการแพร่ระบาดของม้าโทรจัน นอกจากนี้ การที่อินเตอร์เน็ตถูกนำเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ ก็ทำให้การแพร่ระบาดของม้าโทรจันง่ายขึ้น ดังนั้นการวางแผนและกำหนดนโยบายเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมจะช่วยป้องกันม้าโทรจันได้

สำหรับในสำนักงาน การป้องกันม้าโทรจัน ทำได้หลายวิธี เช่น
         การห้ามไม่ให้เอาแผ่นดิสก์เก็ตจากแหล่งภายนอกมาใช้งาน การใช้ Firewall เพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากแฮคเกอร์ เพราะแฮคเกอร์ใช้ม้าโทรจันเป็นเครื่องมือเช่นกัน การป้องกันโดยการห้ามไม่ให้พนักงานใช้โมเด็มต่อเชื่อมเข้าด้วยอินเตอร์เน็ตโดยใช้คอมพิวเตอร์เครื่องที่ต่อเชื่อมกับระบบเครือข่ายภายในสำนักงานก็เป็นวิธีหนึ่งด้วย ประเด็นนี้สำคัญนะครับ โดยมาก ฝ่าย IS ของหลายๆแห่งกำหนดไว้ชัดเจนเลย แต่ถ้ายังไม่กำหนด ก็รีบเถอะครับ

         ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ Firewall ใหม่หลายตัว ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อป้องกันการโจมตีของม้าโทรจันโดยเฉพาะ โดยผนวกเอาคุณสมบัติการป้องกันม้าโทรจันเข้าไปในผลิตภัณฑ์ Firewall ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ นอกจากนี้ยังเพิ่มฟังก์ชันในการตรวจสอบว่าระบบถูกการโจมตีแบบ DDOS หรือไม่ด้วย

         สำหรับสำนักงานแล้ว ดูเหมือนเป็นหน้าที่ของฝ่ายไอทีในการตรวจสอบ (Audit) ระบบ เพื่อดูว่ามีความเสี่ยงต่อการถูกโทรจันหรือไม่ เพราะแต่ละองค์กรมีความเสี่ยงเรื่องการถูกโทรจันไม่เท่ากัน เช่นองค์กรที่เคยใช้คอมพิวเตอร์เฉพาะในองค์กรเท่านั้น และมีการควบคุมที่ดี ย่อมเสี่ยงต่อมาโทรจันน้อย แต่ต่อมา ถ้าหากองค์กรนั้นต่อเชื่อมระบบเครือข่ายของตัวเองเข้ากับอินเตอร์เน็ต ความเสี่ยงย่อมสูงขึ้น ทำให้ฝ่ายไอทีต้องสำรวจว่ามีเครื่องมือที่เหมาะสมในการป้องกันหรือไม่

         สำหรับสำนักงาน การป้องกันม้าโทรจัน ควรกำหนดแผนการป้องกันไว้ก่อนที่จะติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ และควรมีการตรวจสอบ (Audit) ระบบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยจากม้าโทรจัน บางที่ม้าโทรจันอาจจะถูกนำมาวางไว้ที่ไหนสักแห่งในคอมพิวเตอร์และปฎิบัติการอย่างเงียบๆ

         กรณีที่ต้องการตรวจสอบระบบ ซอฟต์แวร์ในการป้องกันและตรวจสอบโทรจันที่มีประสิทธิภาพดีพอ อย่าง The Cleaner จาก Moosoft มาใช้ในการตรวจสอบว่ามีโทรจันในคอมพิวเตอร์หรือไม่


ป้องกัน-กำจัดม้าโทรจันสำหรับคอมพิวเตอร์ที่บ้าน
         ส่วนการใช้งานคอมพิวเตอร์ภายในบ้าน โดยการออนไลน์ปกติโดยการต่อเชื่อมอินเตอร์เน็ตจากคอมพิวเตอร์ภายในบ้านที่ใช้ Dial Up Network โดยการต่อเชื่อมผ่านโมเด็มนั้น เสี่ยงต่อม้าโทรจันเช่นกัน ผมเคยถูกม้าโทรจันหลายๆตัวโจมตีภายในเดือนเดียวกัน 5 ครั้ง วิธีการป้องกันได้แก่การติดตั้งโปรแกรม อย่าง NetBUS Detective จะคอยตรวจจับม้าโทรจันพวก Netbus ,BO Orifice , หรือโปรแกรม NukeNubber ก็ป้องกันระบบ โดยการตรวจสอบพอร์ตต่างๆของ TCP/IP ถึง 50 พอร์ต

         ระบบการป้องกันสำหรับบ้านที่ดีที่สุดคือ ไฟร์วอลส่วนตัว (personal firewalls) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ติดตั้งในพีซี เช่น Norton Personal Firewall 2.0 , Norton Internet Security 2.0 , ZoneAlarm 2.1.44 โปรแกรม Firewall เหล่านี้จะเป็นทหารยามป้องกันการลักลอบแฝงเข้ามาในพอร์ตต่างๆของการต่อเชื่อมที่ไม่ได้รับอนุญาต

         สำหรับกรณีที่ต้องการตรวจสอบว่ามีม้าโทรจัน หรือต้องการกำจัดนั้น ต้องทำความเข้าใจคือ โปรแกรมป้องกันไวรัสทั้งหลายที่มีขายในท้องตลาดนั้น อาจจะป้องกันและตรวจสอบม้าโทรจันได้ไม่ครบ ทางที่ดีแนะนำให้ใช้โปรแกรมการป้องกัน ตรวจสอบม้าโทรจันเฉพาะ อย่าง PC Guard , The Cleaner ซึ่งในการตรวจจับม้าโทรจันโดยเฉพาะ

         นโยบายการป้องกันม้าโทรจันนั้น แตกต่างกันไปในแต่ละที่ โดยส่วนใหญ่จะต้องใช้วิธีการ กันไว้ดีกว่าแก้ โดยการติดตั้ง Firewall ไว้ก่อนเลยในชั้นแรก แต่ถ้าหากวันหนึ่งเกิดสงสัยว่าในระบบคอมพิวเตอร์นั้นมีม้าโทรจันถูกส่งมาหรือไม่ ก็ต้องใช้ซอฟต์แวร์ในการตรวจจับ

ซอฟต์แวร์สำหรับการตรวจจับและทำลายโทรจัน
        กรณีที่ต้องการตรวจจับและทำลายม้าโทรจัน ซอฟต์แวร์กำจัดไวรัสทั่วไปอย่าง Norton Antivirus ,Mcafee Virus SCAN นั้นสามารถตรวจจับและกำจัดม้าโทรจันได้บ้างบางตัว แต่ไม่ครอบคลุมทั้งหมด ทั้งนี้เพราะซอตฟ์แวร์ป้องกันกำจัดไวรัสนั้น มุ่งจะกำจัดไวรัส (โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีอันตรายต่อคอมพิวเตอร์) มากกว่าจะตรวจจับและทำลายโทรจัน วิธีการส่งเข้ามาในคอมพิวเตอร์ และพฤติกรรมการทำงานของโทรจันนั้นแตกต่างจากไวรัส เครื่องมือในการตรวจจับ การป้องกัน จึงแตกต่างจากไวรัสด้วย

         The Cleaner 3.1 จาก Moosoft เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ทั้ง ป้องกัน ตรวจจับ และกำจัดไวรัสที่ได้รับความนิยมมากตัวหนึ่ง เพราะทาง ZDNet ,Tucows และอีกหลายๆสื่อออนไลน์ที่ได้รีวิวซอฟต์แวร์ตัวนี้ต่างก็โหวดให้ประสิทธิภาพของการทำงาน "ยอดเยี่ยม" ทั้งหมด พูดได้ว่า The Cleaner เป็นซอฟต์แวร์ในการกำจัดโทรจันที่เป็นที่รู้จักกันดีและได้รับความนิยม ประสิทธิภาพของ The Cleaner นั้นมีฐานข้อมูลโทรจันที่ตรวจสอบและกำจัดได้กว่า 3000 ตัว และยังมีการอัพเดททุกๆ เดือน การตรวจจับความเร็วสูง สนับสนุนการตรวจสอบไฟล์ที่บีบอัดไว้ (Compress Files) OS ที่ The Cleaner สนับสนุนคือ Windows 95/98/ME , NT 4.0 Server , 4.0 Workstation , Windows 2000 Pro , Windows 2000 Server นอกจากส่วนที่ทำหน้าที่ในการ Cleaner แล้ว ยังมีส่วนที่ยับยั้งไม่ให้ไวรัสทำงานคือ TCActive นอกจากนี้ยังมี TCMonitor ที่จะมีการตรวจสอบไฟล์ของระบบวินโดวส์ตัวที่อาจจะมีการส่งโทรจันมาด้วย

         Trojan Remover เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและกำจัดโทรจันอีกตัวหนึ่งที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันพัฒนาถึงเวอร์ชัน 4.0.4 แล้ว Trojan Remover ได้รับความนิยมเช่นกัน ถึงแม้ว่า OS ที่ Trojan Remover สนับสนุนจะมีเพียง 95/98/ME เท่านั้นเอง Trojan Remover ทำงานไม่แตกต่างจาก The Cleaner คือ ถ้าหากตรวจสอบพบว่าไฟล์ระบบหรือไฟล์ข้อมูลได้มีโทรจันแฝงตัวอยู่ Trojan Remover จะดำเนินการแก้ไขไฟล์นั้นให้เข้าสู่สภาพปกติ รวมไปถึงการแก้ไข Registry ของวินโดวส์ด้วย นอกจากนี้สำหรับโทรจันที่แฝงตัวในหน่วยความจำ Trojan Remover ก็มีวิธีการที่ชาญฉลาดในการจัดการโดยใช้กระบวนการ REMOVE all traces

         Anti-Trojan 5 ซอฟต์แวร์จากเยอรมัน เป็นซอฟต์แวร์สำหรับจัดการกับ Trojan อีกตัวที่น่าสนใจ Anti-Trojan มีขนาดไฟล์สำหรับติดตั้ง 4.8 เมกะไบต์ มากกว่า Trojan Remover และ The Cleaner การพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงเวอร์ชัน 5.0 น่าจะประกันได้ว่าซอฟต์แวร์ป้องกันโทรจันตัวนี้น่าสนใจไม่น้อย การทำงานของ Anti-Trojan ทำงานในการตรวจสอบโทรจันโดยการสแกนพอร์ต (เพราะโทรจันโดยส่วนใหญ่จะเล็ดลอดเข้ามาและเปิดพอร์ตต่างๆ) สแกน Registy และสแกนฮาร์ดดิสก์ การค้นหาและตรวจจับไวรัสใช้ Signature ของโทรจัน การสแกนในไฟล์รวมถึงการสแกนไฟล์บีบอัดด้วย คุณสมบัติเด่นของ Anti-Trojan คือ รู้จัก Trojan มากกว่า 5000 รายการ
ความเร็วในการตรวจจับสูง และมีฐานข้อมูลออนไลน์สำหรับไวรัสให้อัพเดทเช่นกัน นอกจากนี้ยังรวมถึง Plugin ของ PortScanner , Processviewer ด้วย

         ทั้งสามตัวนั้นมีการอัพเดทข้อมูลโทรจันตลอดเวลาเช่นกัน ดังนั้นกรณีที่ต้องการให้การป้องกันมีประสิทธิภาพที่สุด ผู้ใช้ควรอัพเดทข้อมูลโทรจันด้วย
 


http://www.bkk1.in.th

http://tuen1997.blogspot.com/

หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm)

หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm)


   หนอนคอมพิวเตอร์เป็นโปรแกรมคล้าย ๆ กับไวรัส แต่หนอน คอมพิวเตอร์ทำงานแตกต่างไปบ้าง กล่าวคือ จะทำงานในระบบเครือข่าย เช่นระบบอินเทอร์เน็ต เมื่อหนอนคอมพิวเตอร์ หาทางเข้าไปสู่หน่วยความจำ ของคอมพิวเตอร์ได้แล้ว มันก็จะเริ่มตรวจสอบ บัญชีรายชื่อ ในแฟ้มลูกข่ายของ เครื่องนั้นว่า มีที่อยู่ของใครบ้าง จากนั้นก็จะก๊อปปี้ตัวมันเอง ส่งไปยังชื่อในบัญชีนั้น เมื่อไปถึงและมีโอกาส เข้าไปสู่หน่วยความจำ แล้วก็จะรอแผลงฤทธิ์ แบบเดียวกันกับ ที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้น ในไม่ช้า ในระบบเครือข่าย ก็จะมีหนอนส่งตัวเอง กลับไปกลับมา อยู่ตลอดเวลา ผลก็คือ ระบบเครือข่ายก็ทำงานช้าลง
   หนอนคอมพิวเตอร์บางตัว ถูกบรรจุใส่ห่อแฟ้มข้อมูลมาพร้อมกับจดหมายอีเมล์ หากไม่เปิดห่อดูหนอนก็ไม่ออกมาอาละวาด แต่หนอนบางตัวมาพร้อมกับ จดหมายอีเมล์ เลยทีเดียว ดังนั้นเพียงแค่เปิดจดหมายอ่าน หนอนก็ออกมาอาละวาดได้แล้ว หนอนบางตัวเป็นไวรัสด้วย ดัง
นั้นความร้ายกาจจึงมีมาก
อันตรายที่เกิดจากหนอนคอมพิวเตอร์
หนอนคอมพิวเตอร์สามารถที่จะควบคุมความสามารถบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และสามารถที่จะส่งไฟล์หรือข้อมูลที่สำคัญของคุณไปสู่ผู้ที่ไม่หวังดี คู่แข่ง หรือใครก็ได้ ทำให้เกิดความเสียหายได้
การป้องกัน
1. ไม่เปิด ไฟล์ที่แนบมากับ อีเมล ที่ส่งมาจากผู้ที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร
2. ถึงไม้ว่าจะรู้ว่าผู้ส่งเป็นใคร ก็ไม่ควรเปิดไฟล์ที่แนบมาถ้าไม่แน่ใจว่าไฟล์ที่แนบมาเป็นอะไรกันแน่
3. ทำการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส
4. ทำการ อัปเดตข้อมูลไวรัสของโปรแกรมป้องกันไวรัสให้เป็นปัจจุบันตลอด
5. ติดตั้งตัวแก้ไขระบบปฏิบัติการ
6. ติดตั้งไฟร์วอลล์
วิธีกำจัดหนอนชนิดนี้
สำหรับผู้ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส
- ถ้าใช้งานระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ME หรือ XP ให้ทำการ disable System Restore ก่อน
ปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสใหม่ล่าสุดจากเว็บเพจของบริษัทเจ้าของโปรแกรมป้องกันไวรัสที่ท่าน ใช้ หรือ ติดต่อบริษัทที่ท่านติดต่อซื้อโปรแกรมป้องกันไวรัส
- รีสตาร์ทเครื่องให้เข้าในระบบแบบ Safe Mode โดยในระบบwindows 95/2000/XP ให้กด F8 ระหว่างการบูตเครื่อง และwindows 98/ME ให้กดปุ่ม Ctrl
- สแกนไวรัสด้วยโปรแกรมป้องกันไวรัสที่ได้รับการบรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสจากข้อที่ 2 หลังจากการสแกนโปรแกรมป้องกันไวรัสจะทำการลบไฟล์ตัวหนอนออกจากระบบทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น
การกำจัดหนอนแบบอัตโนมัติ
- ดาวน์โหลดโปรแกรม Sysclean.com จากเว็บไซต์http://www.trendmicro.com/ftp/products/tsc/sysclean.com
- ดาวน์โหลดไฟล์ pattern ชื่อ lptxxx.zip จากhttp://www.trendmicro.com/download/pattern.asp หมายเหตุxxx ทนตัวเลขเวอร์ชันล่าสุดของไฟล์ pattern
- แตกไฟล์ lptxxx.zip นำไฟล์ชื่อ lpt$vpn.xxx เก็บไว้ในโฟลเดอร์เดียวกับไฟล์ Sysclean.com ที่ได้จากข้อ 1
- ตัดการเชื่อมต่อเครือข่าย
- หยุดการทำงานทุกโปรแกรม รวมทั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสด้วย
- จากนั้นรันไฟล์ Sysclean.com จะปรากฏไดอะล็อกให้ทำการสแกนโดยกดปุ่ม Scan
- เริ่มต้นการใช้งานโปรแกรมป้องกันไวรัสอีกครั้ง
- ทำการปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสที่ใช้อยู่แล้วทำการสแกนอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องที่ใช้งานอยู่ไม่มีไวรัส


ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus)



 วรัสคืออะไร ??

       
 ไวรัส คือโปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน
การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายถึงว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์ เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไวรัสก็เป็นแค่โปรแกรม ๆ หนึ่งการที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกให้ทำงานได้นั้นยังขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัส แต่ละตัวปกติผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวว่าได้ทำการปลุกคอมพิวเตอร์ไวรัสขึ้นมาทำงานแล้ว
จุดประสงค์ของการทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ แสดงข้อความวิ่งไปมาบน หน้าจอ เป็นต้น

     ประเภทของไวรัส

บูตเซกเตอร์ไวรัส 
   Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์คือ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาตอนแรก เครื่อง จะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบ ปฎิบัติการขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง บูตเซกเตอร์ไวรัสจะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว และไวรัส ประเภทนี้ถ้าไปติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ โดยทั่วไป จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Parition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น
   ถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมาโดย พยายามเรียก ดอสจากดิสก์นี้ ตัวโปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและจะเข้าไปฝังตัวอยู่ใน หน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่ จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา แล้วตัวไวรัสจึงค่อยไป เรียกดอสให้ขึ้นมาทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

โปรแกรมไวรัส
   Program Viruses หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติก็คือ ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้า ไปติดอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น sys และโปรแกรมประเภท Overlay Programsได้ด้วย โปรแกรมโอเวอร์เลย์ปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย OV วิธีการที่ไวรัสใช้เพื่อที่จะ เข้าไปติดโปรแกรมมีอยู่สองวิธี คือ การแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในโปรแกรมผลก็คือหลังจากท ี่ โปรแกรมนั้นติดไวรัสไปแล้ว ขนาดของโปรแกรมจะใหญ่ขึ้น หรืออาจมีการสำเนาตัวเองเข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิมดังนั้นขนาดของโปรแกรมจะไม่เปลี่ยนและยากที่ จะซ่อมให้กลับเป็นดังเดิม
    การทำงานของไวรัส โดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้ โปรแกรมนั้นทำงานตามปกติต่อไป เมื่อไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้ว หลัง จากนี้ไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสก็จะสำเนาตัวเองเข้าไป ในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป
วิธีการแพร่ระบาดของโปรแกรม ไวรัสอีกแบบหนึ่งคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหาโปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ในดิสก์เพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียก นั้นทำงานตามปกติต่อไป

ม้าโทรจัน 
   เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็น โปรแกรมธรรมดาทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อ ถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้ง ชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบายการใช้งานที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ
   จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันอาจจะเช่นเดียวกับคนเขียนไวรัส คือ เข้าไปทำ อันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วงเอาความลับของระบบ คอมพิวเตอร์
ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของ ผู้ใช้เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มีม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรม ที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและสร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบตซ์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมประเภทม้าโทรจันได้

โพลีมอร์ฟิกไวรัส
    Polymorphic Viruses เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเอง ได้เมื่อมีสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้หถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

สทีลต์ไวรัส   

   Stealth Viruses เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของ โปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริง ของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัว ไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

   เอาการครื่องติดไวรัส

   สามารถสังเกตุการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้อาจเป็นไปได้ว่าได้มีไวรัสเข้าไปติดอยู่ในเครื่องแล้ว อาการที่ว่านั้นได้แก่
    • ใช้เวลานานผิดปกติในการเรียกโปรแกรมขึ้นมาทำงาน
    • ขนาดของโปรแกรมใหญ่ขึ้น
    • วันเวลาของโปรแกรมเปลี่ยนไป
    • ข้อความที่ปกติไม่ค่อยได้เห็นกลับถูกแสดงขึ้นมาบ่อย ๆ
    • เกิดอักษรหรือข้อความประหลาดบนหน้าจอ
    • เครื่องส่งเสียงออกทางลำโพงโดยไม่ได้เกิดจากโปรแกรมที่ใช้อยู่
    • แป้นพิมพ์ทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงานเลย
    • ขนาดของหน่วยความจำที่เหลือลดน้อยกว่าปกติ โดยหาเหตุผลไม่ได้
    • ไฟล์แสดงสถานะการทำงานของดิสก์ติดค้างนานกว่าที่เคยเป็น
    • ไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เคยใช้อยู่ ๆ ก็หายไป
    • เครื่องทำงานช้าลง
    • เครื่องบูตตัวเองโดยไม่ได้สั่ง
    • ระบบหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ
    • เซกเตอร์ที่เสียมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยมีการรายงานว่าจำนวนเซกเตอร์ที่เสียมีจำนวน เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนโดยที่
    • ยังไม่ได้ใช้โปรแกรมใดเข้าไปตรวจหาเลย
คำแนะนำในการป้องกัน


  • สำรองไฟล์ข้อมูลที่สำคัญ
  • สำหรับเครื่องที่มีฮาร์ดดิสก์ อย่าเรียกดอสจากฟลอปปีดิสก์
  • ป้องกันการเขียนให้กับฟลอปปีดิสก์
  • อย่าเรียกโปรแกรมที่ติดมากับดิสก์อื่น
  • เสาะหาโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใหม่และมากกว่าหนึ่งโปรแกรมจากคนละบริษัท
  • เรียกใช้โปรแกรมตรวจหาไวรัสเป็นช่วง ๆ
  • เรียกใช้โปรแกรมตรวจจับไวรัสแบบเฝ้าดูทุกครั้ง
  • เลือกคัดลอกซอฟแวร์เฉพาะที่ถูกตรวจสอบแล้วในบีบีเอส
  • สำรองข้อมูลที่สำคัญของฮาร์ดดิสก์ไปเก็บในฟลอปปีดิสก์
  • เตรียมฟลอปปีดิสก์ที่ไว้สำหรับให้เรียกดอสขึ้นมาทำงานได้
  • เมื่อเครื่องติดไวรัส ให้พยายามหาที่มาของไวรัสนั้น
 การกำจัดไวรัส

   เมื่อแน่ใจว่าเครื่องติดไวรัสแล้ว ให้ทำการแก้ไขด้วยความใคร่ครวญและระมัดระวังอย่างมาก เพราะบางครั้งตัวคนแก้เองจะเป็นตัวทำลายมากกว่าตัวไวรัสจริง ๆ เสียอีก  การฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ใหม่อีกครั้งก็ไม่ใช่ วิธีที่ดีที่สุดเสมอไป ยิ่งแย่ไปกว่านั้นถ้าทำไปโดยยังไม่ได้มีการสำรองข้อมูลขึ้นมาก่อน การแก้ไขนั้นถ้าผู้ใช้มีความรู้เกี่ยวกับไวรัสที่ กำลังติดอยู่ว่าเป็นประเภทใดก็จะช่วยได้อย่างมาก และข้อเสนอแนะต่อไปนี้อาจจะมีประโยชน์ต่อท่าน

บูตเครื่องใหม่ทันทีที่ทราบว่าเครื่องติดไวรัส
   เมื่อทราบว่าเครื่องติดไวรัส ให้ทำการบูตเครื่องใหม่ทันที  โดยเรียกดอสขึ้นมาทำงานจากฟลอปปีดิสก์ที่ได้เตรียมไว้ เพราะถ้าไปเรียกดอสจากฮาร์ดดิสก์ เป็นไปได้ว่า ตัวไวรัสอาจกลับเข้าไปในหน่วยความจำได้อีก เมื่อเสร็จขั้นตอนการเรียกดอสแล้ว ห้ามเรียกโปรแกรมใด ๆ ก็ตามในดิสก์ที่ติดไวรัส เพราะไม่ทราบว่าโปรแกรมใดบ้างที่มีไวรัสติดอยู่

เรียกโปรแกรมจัดการไวรัสขั้นมาตรวจหาและทำลาย
   ให้เรียกโปรแกรมตรวจจับไวรัส เพื่อตรวจสอบดูว่ามีโปรแกรมใดบ้างติดไวรัส ถ้าโปรแกรมตรวจ หาไวรัสที่ใช้อยู่สามารถกำจัดไวรัสตัวที่พบได้ ก็ให้ลองทำดู แต่ก่อนหน้านี้ให้ทำการคัดลอกเพื่อสำรองโปรแกรมที่ติดไวรัสไปเสียก่อน โดยโปรแกรมจัดการไวรัสบางโปรแกรมสามารถสั่งให้ทำสำรองโปรแกรมที่ติดไวรัสไปเป็นอีกชื่อหนึ่งก่อนที่จะกำจัดไวรัส เช่น MSAV ของดอสเอง เป็นต้น
   การทำสำรองก็เพราะว่า เมื่อไวรัสถูกกำจัดออกจากฌปรแกรมไป โปรแกรมนั้นอาจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือทำงานไม่ได้เลยก็เป็นไปได้ วิธีการตรวจขั้นต้นคือ ให้ลอง เปรียบเทียบขนาดของโปรแกรมหลังจากที่ถูกกำจัดไวรัสไปแล้วกับขนาดเดิม ถ้ามีขนาดน้อยกว่า แสดงว่าไม่สำเร็จ หากเป็นเช่นนั้นให้เอาโปรแกรมที่ติดไวรัสที่สำรองไว้ แล้วหาโปรแกรมจัดการ ไวรัสตัวอื่นมาใช้แทน แต่ถ้ามีขนาดมากกว่าหรือเท่ากับของเดิม เป็นไปได้ว่าการกำจัดไวรัสอาจสำเร็จ โดยอาจลองเรียกโปรแกรมตรวจหาไวรัสเพื่อทดสอบโปรแกรมอีกครั้ง



หากผลการตรวจสอบออกมาว่าปลอดเชื้อ ก็ให้ลองเรียกโปรแกรมที่ถูกกำจัดไวรัสไปนั้นขึ้นมาทดสอบการทำงานดูอย่างละเอียดว่าเป็นปกติดีอยู่หรือไม่อีกครั้ง ในช่วงดังกล่าวควรเก็บโปรแกรมนี้ที่สำรองไปขณะที่ติดไวรัสอยู่ไว้ เผื่อว่าภายหลังพบว่าโปรแกรมทำงานไม่เป็นไปตามปกติ ก็สามารถลองเรียกโปรแกรมจัดการไวรัสตัวอื่นขึ้นมากำจัดต่อไปได้ในภายหลัง แต่ถ้าแน่ใจว่าโปรแกรมทำงานเป็นปกติดี ก็ทำการลบโปรแกรมสำรองที่ยังติดไวรัสติดอยู่ทิ้งไปทันที เป็นการป้องกันไม่ให้มีการเรียกขึ้นมาใช้งานภายหลังเพราะความบังเอิญได้

http://web.ku.ac.th
http://www.thaigoodview.com